วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

แมงหยอด แมงไหย๋ แมงขี้กะตอด หมาร่า Ceriana wasp

ชื่อพื้นเมือง (อีสาน) แมงหยอด  แมงไหย๋  แมงขี้กะตอด ( ศิลปินนักปั้นแต่ง แห่งเสาเถียง )
ชื่อภาษาไทย  หมาร่า
ชื่อสามัญ Ceriana wasp  , Wasp-mimic Hoverfly
ชื่อวิทยาศาสตร์ Hymenoptera Ceriana sp.
วงศ์ Sphecidae
ลำดับ   insecta



หมาร่า(ปักษ์ใต้บ้านฉันเรียกว่าแมงหมาบ้า) คือตัวต่อชนิดหนึ่ง ที่ชอบทำรังอยู่ตาม ฝ้าเพดาน เสาบ้าน ซอกหลืบเล็กๆของตู้โชว์ หลังทีวี ฯลฯ  หรือพูดง่ายๆก็คือมันสามารถสร้างรังได้ทุกที่ในบริเวณบ้านที่เป็นที่ร่ม


แมงหยอด แมงไหย๋  ทำรังด้วยดินเหนียว บรรจง ปั้นแต่งให้เป็นรัง หรือที่เรียกว่า “ บ้านดิน “
ลักษณะทางกายภาพ
มีลำตัวยาวประมาณ  2- 4 ซม.  ที่พบในประเทศ ไทย มี 2 สายพันธุ์ คือ พวกที่มีลำตัว สีน้ำตาลคาดเหลือง
กับสายพันธ์ สีดำคาดขาวและดำเหลือง ล้วน มีลำตัวปราดเปรียว เป็นนักล่า อาหารคือ หนอน ไข่เพี้ยและแมลง
ที่เป็นศัตรูพืชขนาดเล็ก อื่นๆ  นับเป็นยาฆ่าแมลงชีวภาพ ตามธรรมชาติ  ยังพบว่าแมลงชนิดนี้ช่วยในการผสมเกสร
ช่วยให้พืชผล ติดผลได้ดี   ช่วงท้อง มีท่อเพรียวเล็ก เชื่อมต่อกับก้นที่มีขนาดใหญ่กว่า เหมาะสำหรับการบินที่
ปราดเปรียว  มี รยางค์ เช่นเดียวกับแมลง ประเภท ต่อแตน



วงจรชีวิต
แมลงชนิดนี้ มีอายุเฉลี่ย 220 วัน นับจากวันที่ ออกจากรัง  การผสมพันธ์ ไม่เลือกฤดู เช่นเดียวกับมนุษย์
ขึ้นอยู่กับอายุโตเต็มวัย ซึงจะอยู่ที่ 90 วัน  เมื่อผสมพันธุ์แล้ว ตัวเมียจะ หาที่ทำรัง ก่อด้วยดินเหนียว
ด้วยความพากเพียร ปกติจะปั้นรัง อยู่ที่ 3 ช่อง นั่นคือวางไข่ ประมาณ 1 ตัวต่อช่อง เมื่อทำรังเสร็จ
และหาตัวหนอน หรือแมลงเป็น ๆ มาไว้ในรังเพื่อเป็นอาหารของลูกที่เกิดมา
ระยะเวลาการทำรัง “ โอดโปด วิมาน “ จะอยู่ที่ 1 สัปดาห์
ใช้เวลาในการในการวิวัฒนาการ จากไข่ เป็นตัวอ่อน 3 สัปดาห์   เมื่อแม่ทำรังเสร็จ ปิดรังให้มิดชิด จะตายลง
เมื่อไข่ฟักเป็นตัว ออกมาจะกินอาหารที่แม่เตรียมให้ จนปีกงอกสมบูรณ์ จึงออกมาจากรัง


 ชื่อต่อหลายชนิดในวงศ์ Sphecidae ใช้ดินเหนียวทํารังขนาดกําปั้นหรือ เล็กกว่าติดตามฝ้า คาน เสาบ้าน หรือบริเวณที่ร่มอื่น ๆ ในรังมีหนอนหรือ เหยื่อที่ถูกต่อยให้สลบเพื่อเป็นอาหารของลูกอ่อน เช่น ชนิด Eumenes petiolata.